1. ความเป็นมาและความสำคัญของโครงการและการประเมินโครงการ

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค สามารถพบได้ตลอดทั้งปีมีแนวโน้มการระบาด  เพิ่มขึ้นในช่วงฤดูฝน พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งพบมากที่สุดในกลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ ๕–๑๔ ปี  จากข้อมูลจากระบบรายงานเฝ้าระวังโรค สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ในปี 2566 (ระหว่างวันที่ 1 ม.ค.- 1 มี.ค.66) พบผู้ป่วยจำนวน 6,156 ราย เสียชีวิต 4 ราย กลุ่มอายุที่อัตราป่วยพบมากที่สุด 3 อันดับ                คือ 5-14 ปี, 15-24 ปี และ 0-4 ปี คิดเป็น ร้อยละ 27.81, 16.39 และ12.76 ตามลำดับ อัตราส่วนเพศหญิงต่อเพศชายเป็น 1:1:10 พื้นที่ที่พบอัตราป่วยสูงสุด คือ กรุงเทพฯ, ภาคใต้, ภาคกลาง, ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คิดเป็นร้อยละ 23.84, 16.33, 14.07, 4.60 และ 1.51 ตามลำดับ จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกรายเดือนในปี 2566 เมื่อเทียบกับปี 2565 พบว่า ในเดือนมกราคมมีผู้ป่วยมากกว่าปีที่แล้ว 6.6 เท่า

พระราชบัญญัติสภาตำบลองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ ๗) พ.ศ.๒๕๖๒ มาตรา ๖๗ (๓) องค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ในการป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ และพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง                 ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๖ (๑๙) กำหนดให้เทศบาล เมืองพัทยา และองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตนเอง            ด้านการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล

ดังนั้น เพื่อลดการสูญเสียของประชาชนจากผลกระทบจากโรคไข้เลือดออก  จำเป็นต้องควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกที่อยู่ในช่วงฤดูฝนให้ทันท่วงที โดยการพ่นหมอกควันเพื่อกำจัดยุงลายตัวเต็มวัย การใส่ทรายอะเบทเพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย  การทำลายภาชนะที่มีน้ำขังเพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และการสร้างความตระหนักความเข้าใจให้แก่ประชาชนในการควบคุมและป้องกันโรค ในเขตพื้นที่ ตำบลหนองบัว  อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์

 วัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ

  1. เพื่อ ลดอัตราผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ให้กับประชาชนในเขตตำบลหนองบัว อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์
  2. ลดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในแหล่งชุมชน ทั้ง 12 หมู่บ้านในเขตพื้นที่ตำบลหนองบัว อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์
  3. ประชาชนมีความรู้และความเข้าใจในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก

 

  1. ขอบเขตของการดำเนินงานโครงการ

บ้านเรือนประชาชนทั้ง  12  หมู่บ้าน  วัด  สถานที่ราชการ  สถานศึกษา  และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่ ตำบลหนองบัว  อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ 

  1. ผลการประเมินโครงการ

       ผลการดำเนินการโครงการสรุปได้ดังนี้ ประชาชนทั้ง 12 หมู่บ้าน ในตำบลหนองบัว อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์  ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการดำเนินโครงการ ทั้งการเตรียมตัวก่อนได้รับการพ่นหมอกควัน และการหยอดทรายอะเบท คว่ำภาชนะที่มีน้ำขัง รวมไปถึงตระหนักถึงความรุนแรงและการป้องกันของโรคไข้เลือดออก และจากรายงานผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองน้ำขุ่น พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกจำนวน 22 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 26 ตุลาคม) โดยพบรายแรกวันที่ 17 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 อาจเนื่องจากมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกในตำบลข้างเคียง ซึ่งพบในเด็กวัยเรียน เป็นส่วนมาก โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบัวร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวดำเนินการลงพื้นที่ควบคุมกำจัดแหล่งรังโรคได้ทันท่วงที ทำให้ไม่พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเพิ่ม ข้อมูล ณ วันที่ 31 เดือนตุลาคม 2566

4.1 ปัญหาอุปสรรคทีเกิดขึ้นจากการดำเนินงานโครงการ และแนวทางแก้ปัญหา

       เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวมีพายุทำให้มีฝนตก ทำให้การพ่นหมอกควันล่าช้าในบางวัน ส่งผลให้ต้องเร่งพ่นหมอกควันเพื่อให้แล้วเสร็จทันตามกำหนดการ

5.1  ค่าจัดซื้อทรายอะเบทกำจัดลูกน้ำยุงลาย ฟอส  ๑% เอส.จี. ขนาด ๕๐ กรัม/ซอง จำนวน 6,0๐๐ ซองๆละ 6  บาท    เป็นเงิน  36,000.- บาท

5.2  ค่าจัดซื้อน้ำยากำจัดยุง จำนวน 10 ลิตรๆ ละ ๑,๒๐๐  บาท       เป็นเงิน  12,000.- บาท

5.3  ค่าจัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับเติมเครื่องพ่นหมอกควัน      เป็นเงิน  41,734.- บาท

 (5.3.1) น้ำมันดีเซล จำนวน 850 ลิตร (จำนวน 420 ลิตรต่อรอบ) 

 (5.3.2) แก๊สโซฮอล์       95 จำนวน 400 ลิตร (จำนวน 200 ลิตรต่อรอบ)

 (หมายเหตุ ราคาน้ำมัน ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2566 อ้างอิงจากปั๊มบางจาก สหกรณ์การเกษตร อำปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ ดีเซล ราคา 32.36 บาทต่อลิตร แก๊สโซฮอล์ 95 ราคา 35.57 บาทต่อลิตร ซึ่งอาจมีการปรับราคาขึ้นและลง)          

5.4 ค่าจ้างเหมาฉีดน้ำยากำจัดยุง ครั้งละ 14,400 บาท จำนวน 2 ครั้ง   เป็นเงิน  ๒๘,๘๐๐.-  บาท    รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  118,534.-   บาท 

  1. สรุปผลและข้อเสนอแนะ

          6.1 ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

          6.2 ประชาชนเกิดความตะหนักและมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการป้องกันและกำจัดยุงลาย

          6.3 กำจัด ควบคุม หรือทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในแหล่งชุมชนและสถานบริการ

          6.4 ประชาชนทราบถึงพิษภัยและการป้องกันตนเองและครอบครัวจากโรคไข้เลือดออก

          6.5 สร้างความตระหนักหรือความร่วมมือของชุมชนในการป้องกันในดูแลสุขภาพของตนเองจาก     โรคไข้เลือดออก  และเฝ้าระวังการเกิดลูกน้ำยุงลายรวมถึงการกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างถูกวิธี


ภาคผนวก

  

  1.  

  2.  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เอกสาร/ไฟล์แนบ
FileFile sizeDownloads
Download this file (รายงานผล.pdf)รายงานผล3422 kB41